วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เมืองน่าเที่ยวประเทศเยอรมนี


 เมืองน่าเที่ยวประเทศเยอรมนี








เมืองมิวนิค
เป็นเมืองหลวงของรัฐบาวาเรีย มีประชากรประมาณ 1.3 ล้านคน เป็นเมืองที่มีหอศิลปะสวนสาธารณะ และพิพิธภัณฑ์ที่มี ชื่อเสียงหลายแห่ง งานมหกรรมใหญ่ประจำปีทั่วโลกรู้จักคือ Oktoberfest เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทที่มีชื่อเสียง เช่น BMW และซีเมนส์ บริษัทที่ผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง และสถาบัน วิจัยอีกหลายแห่ง มีมหาวิทยาลัย 3 แห่ง และสถาบันการศึกษาระดับ สูงอีก 8 แห่ง


สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ

ปราสาทนอยชวานชไตน
เดินทางลัดเลาะไปตามเส้นทางไหล่เขาสู่ สะพานควีนแมรี่ ซึ่งเป็นจุด ชมวิวปราสาทที่ดีที่สุดชมความสวยงามของป่าไม้ และบ้านพักสไตล ์ชาเล่ย์ ที่ประดับประดาไป ด้วยดอกไม้หลากหลายสี ชมทิวทัศน์อันงดงามของตัว ปราสาทท ที่โดดเด่น มีทะเลสาบและธาร น้ำล้อมรอบ ภายในตัวปราสาทที่ตกแต่งไว้อย่างอลังการ ปราสาทนี้สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 18–19รัชสมัยของพระเจ้าลุดวิกที่ 2ตามจินตนาการ ของคีตกวีชาวเยอรมนี ริชาร์ดวากเนอร์ พระสหายคู่ พระทัย ชม ห้องทรงงาน, ห้องบรรทม,ห้องฮอลล์ที่ใช้ในการแสดงโอเปร่าและคอนเสิร์ต รับฟังเรื่องราวอันน่าสลดใจ ของผู้ที่ สร้างปราสาทแห่งนี้



ปราสาทนอยชวานชไตน




จตุรัสมาเรียนพลัทซ์ (Marienplatz)
Marienplatz (มาเรียนพลัทซ์) หรือ Mary's Square (จตุรัสมาเรีย หรือ จตุรัสแมรี่)
อยู่กลางใจเมืองของนครมิวนิค ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1158 (850 ปีมาแล้ว)ตั้งแต่ยุโรปสมัยกลาง (Middle Ages) เป็น " หัวใจ " ของเขตเมืองเก่า และเป็นที่ที่ดีที่สุดสำหรับการเริ่มชมเมือง ในยุคกลางที่นี่เคยเป็นตลาด แต่ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการจัดงานสำคัญทางวัฒนธรรมต่างๆ มาเรียนพลาตซ์ มีสิ่งที่น่าชมมากมาย อาทิ Mariensaule รูปปั้นพระแม่มารีทองคำบนเขาสูงศาลาว่าการเมืองใหม่ ( Neuse Rathaus ) ที่มีจุดเด่นอยู่ที่ Glockenspiel หอระฆัง ที่มีตุ๊กตาออกมาเต้นระบำ เวลา 11 โมงเช้าในหน้าหนาว และ 5 โมงเย็นในหน้าร้อน รถไฟฟ้าใต้ดินสาย U3/U6 และรถไฟ S-Bahn ลงที่สถานีมาเรียนพลาตซ์






เรสซิเดนซ์ (Residentz) 
พระราชวังที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของ มิวนิค ที่ซึ่งเป็นที่ประทับและศูนย์กลางอำนาจของกษัตริย์บาวาเรียนมานาน ปัจจุบันห้องมีจำนวน 130 ห้อง ภายในพระราชวังเป็นสถานที่จัดแสดงสมบัติล้ำค่ามากมายทั้งเฟอร์นิเจอร์ ภาพเขียน เครื่องเคลือบ และเครื่องเงิน ไฮไลท์ที่ควรเยี่ยมชมคือ Antiquariumห้องโถงสไตล์เรอเนสซองส์ที่สวยงาม( Residentz ) ตั้งอยู่ที่ Residentzstrasse 1 ในย่านใจกลางเมือง เปิดวันอังคาร-วันอาทิตย์ ในเมืองเมษายน-ตุลาคม เวลา 9.00-18.00 น. เดือนพฤศจิกายน-มีนาคม เปิดเวลา 10.00-16.00 น. ค่าเข้าชม 5 ยูโรเด็กไม่เสียเงิน โทร. +49 (0)89-2906-71




โอลิมปิกปาร์ก (Olympic Park)
ศูนย์กีฬาขนาดใหญ่สำหรับการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ที่มิวนิคเป็นเจ้าภาพเมื่อปี 1972 ปัจจุบันนี้โอลิมปิกปาร์กเปรียบเหมือนส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของชีวิตชาวเมือง ที่นี่เป็นที่ตั้งของแลนด์มาร์กสมัยใหม่ที่สำคัญ 2 อย่างของมิวนิค คือ หอโทรคมนาคม สูง 290เมตร และสเตเดียมทันสมัยสร้างแบบหลังคาเต็นท์ด้วยแท่งสลิงเหล็กยึดแขวนแผ่นอะครีลิกโปร่งแสงที่คลุม เป็นหลังคาเหมือนใยแมงมุม ถ้าไม่กลัวความสูง สามารถขึ้นลิฟต์ไปชมวิวชั้นบนสุดได้ (เสียค่าขึ้น 3 ยูโร) ภายในโอลิมปาร์กแห่งนี้ยังมีสระว่ายน้ำ และที่เล่นสเก็ตสำหรับผู้รักการออกกำลังกายทั้งหลาย โอลิมปาร์ก ตั้งอยู่ที่ Spiridon Louis-Ring 21 เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00-23.30 น. โทร. +49 (0) 89-3067-2414 รถไฟใต้ดินสาย U3 ลงสถานี Olympiazentrum


พิพิธภัณฑ์แห่งชาติบาวาเรียน (The Bavarian National Museum) 
อีกหนึ่งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมและศิลปะ โดยพระเจ้าแมกซิมิเลียนที่ 2 จุดเด่นของพิพิธภัณฑ์นี้คือ คอลเลกชั่นงานศิลป์ชั้นยอด ตั้งแต่ยุคกลางเรื่อยมาจนถึงอาร์ตนูโว จัดแสดงเต็มพื้นที่ทั้ง 3 ชั้น ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาวัฒนธรรมและศิลปะยุโรปในยุคต่าง ๆ ผ่านทางภาพเขียน เฟอร์นิเจอร์ งานหัตถกรรม เครื่องดนตรี และอาวุธในสมัยโบราณพิพิธภัณฑ์แห่งชาติบาวาเรียนตั้งอยู่ที่ Prinzregentenstenstrasse 3 เปิดวันอังคาร-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น. วันพฤหัสบดีเปิดเวลา 10.00-20.00 น. โทร +49 (0) 89-2112-401

ตลาดวิคทัวเลียน (Viktualienmarkt)
ถูกค้นพบในปี 1807 เป็นตลาดผักและผลไม้สดกลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดของเมือง ที่ที่เหมาะอย่างยิ่งที่จะมาซื้อและหาของกิน ตั้งแต่ผักสด ๆ จากฟาร์มไปจนถึงผลไม้นำเข้า รวมถึงแผงลอยที่ขายอาหารทานเล่น เช่น ชีส ฮอตด็อก หรือไส้กรอกอีกนับไม่ถ้วนViktualienmarket เปิดวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่ 7.00-20.00 น. วันเสาร์ 7.00-16.00 น. ปิดวันอาทิตย์ รถไฟฟ้าใต้ดินสาย U-Bahn และรถไฟ S-Bahn ลงที่สถานีมาเรียนพลาตซ์


พิพิธภัณฑ์นอย พิกาโกเทค (Neue Pinakothek) 
พิพิธภัณฑ์ศิลปะพินาโกเทคยุคใหม่ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับอัลเท่อ พินาโกเทค (The Alter Pinakothek ) จัดแสดงภาพวาดและงานปติมากรรมยุโรปตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 ถึงศตวรรษที่ 20 ที่มีจุดเด่นอยู่ที่งานศิลปะเยอรมันในสมัยศตวรรษที่ 19 คอลเลกชั่นที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างยิ่งยวด นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นที่เก็บรวบรวมคอลเลกชั่นดี ๆ ของงานศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์จากประเทศอังกฤษ สเปน และฝรั่งเศส ในสมัยศตวรรษที่ 19อีกด้วยNeue Pinakothek ตั้งอยู่ที่ Barer Stasse 29 โทร. +19 (0) 89-2380-5195 เปิดตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น. ปิดวันอังคาร ค่าเข้าชม 5 ยูโร วันอาทิตย์เข้าฟรี รถไฟฟ้าใต้ดินสาย U2/U8 ลงที่ Theresienstasse รถรางสาย 27 ลงสถานี Pinakothek รถเมล์สาย 53 ลงป้าย Schellingstrasse



เมืองเบอร์ลิน 
เมืองหลวงของประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นเมืองใหญ่สุด มีประชากร 3.5 ล้านคน เป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรม มีโรงละคร โรงแสดงคอนเสิร์ต วงดนตรีขนาดใหญ่ที่เรียกว่าวงออเคสตร้า พิพิธภัณฑ์ และเวทีแสดงศิลปะและดนตรีที่มีชื่อเสียง มีสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 11 แห่ง วิทยาลัยศิลปะและดนตรีอีก 6 แห่ง



สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ
กำแพงเบอร์ลิน (Berliner Mauer)
อดีตแห่งการแบ่งแยกที่ปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่กิโลเมตร เพื่อเก็บไว้เป็นอนุสรณ์ให้กับคนรุ่นหลัง จะมีไม้กางเขนปักอยู่ นั่นเป็นบริเวณที่ผู้หลบหนีในอดีตถูกยิงเสียชีวิตตรงนั้น เขาเลยเอาไม้ กางเขนมาปักเอาไว้เป็นอนุสรณ์เตือนใจ




พิพิธภัณฑ์ชาร์ลี เช็คพ้อยส์ (CHARLIE CHECKPOINT)
จุดตรวจคนเข้า-ออก ระหว่าง 2 ฝั่งเบอร์ลิน ซึ่งท่านจะได้เห็นภาพของความพยายาม ในการหลบหนี ของผู้คนจากฝั่งตะวันออก สู่ฝั่งตะวันตก



ประตูบรานเดนบวร์ก (Brandenburger Tor/Brandenburg Gate)เป็นสัญลักษณ์ของกรุงเบอร์ลินเพราะเป็นประตูเมืองเก่า ได้รับการก่อสร้างระหว่าง ค.ศ.1788-91 ตามศิลปะแบบโรมัน  โดยฝีมือ C.G.Langhans ตั้งอยู่ที่ Pariser Platz และถนน Unter den Linden  สถานที่แห่งนี้ถือเป็นเครื่องหมายแห่งความสงบสุข  และมีความสำคัญโดยเป็นจุดแบ่งกรุงเบอร์ลินออกเป็นสองส่วนคือตะวันออกและตะวันตก ด้านบนมีรูปปั้นชื่อ Quadrigaสูง 5เมตร มีราชินีแห่งชัยชนะ (Siegesgoettin Viktoria)ควบขับรถเทียมม้า 4 ตัว มุ่งหน้าไปทางฝั่งตะวันออกของเบอร์ลิน  ในมือถืออิสริยาภรณ์กางเขนเหล็กกับพวงมาลัยใบมะกอกและ นกอินทรีซึ่งเป็นสัตว์ที่แสดงอำนาจของยุคปรัสเซียร์ (Preussen/Prussia)


พระราชวังชาล็อตเทนเบิร์ก (Schloss Charlottenburg)
พระราชวังอันสวยงาม เดิมเป็นที่ประทับฤดูร้อนในสมเด็จพระราชินีโซเฟียชาล็อต สร้างปลาย ศตวรรษที่ 17 และมีการต่อเติมเรื่อยมาในศตวรรษที่ 18 เดิมมีชื่อว่า Lietzenburg เป็นพระราชวัง สำหรับฤดูร้อนของพระเจ้าเฟรดเดอริกที่ 1 ต่อมาเมื่อพระราชินีคือพระนางโซเฟีย ชาล็อตสวรรคตลง จึงเปลี่ยนชื่อพระราชวังตามชื่อของพระนางเพื่อเป็นการรำลึกถึง นางฟ้าบนยอดปราสาทหมุนได้ ตามแรงลม ดังนั้นแต่ละวันเธอจะหันหน้าไปคนละทิศกัน เชื่อว่าถ้าเธอหันหน้ามาทางทิศที่เราอยู่จะ โชคดี หรือไม่ก็เดินหามุมไปยืนอยู่ตรงหน้าเธอเอง


อนุสาวรีย์แห่งชัยชนะ (Siegessaeule) 
สร้างขึ้นตั้งแต่ยุคปรัสเซีย  เพื่อเป็นอนุสรณ์ของการต่อต้านพวกเดนมาร์ก ในปี1864 ออสเตรีย ในปี 1866 และฝรั่งเศส ในปี 1870-71  เป็นเสาสูงประมาณ 69 เมตร  ออกแบบก่อสร้างโดย J.H.Strack  ระหว่าง ค.ศ.1865-73 แต่ชาวเบอร์ลินมักจะเรียกสถานที่นี้ว่า Golde Else หรือ Victoria แห่งเบอร์ลิน  บนยอดเสาคือรูปปั้นของวิคตอเรีย (Victoria)เทพีแห่งชัยชนะ ถือพวงมาลัยจากใบมะกอก (สัญลักษณ์ของชัยชนะ) กับหอก  รูปปั้นนี้หนัก 35 ตัน สูง 8 เมตร มีบันได 285 ขั้น  สามารถเดินขึ้นไปชมวิวด้านบนได้  บริเวณนี้ทั้งหมดเรียกว่า Grosser Stern แปลว่าดาวดวงใหญ่ เพราะมีถนนห้าสายใหญ่มาบรรจบกันที่อนุสาวรีย์นี้ ถ้ามองจากข้างบนลงมาจึงดูคล้ายรัศมีของดาวที่เป็นแฉก นอกจากนี้บริเวณนี้ยังใช้เป็นที่จัดงาน Loveparadeหรือ Techno-Party อีกด้วย



เมืองพอตสดัม (POTSDAM) 
อีกหนึ่งเมืองสวยของอดีตเยอรมันตะวันออก ซึ่งถูกซ่อนเก็บไว้หลังกำแพง ความแตกแยก
มากว่า 40 ปี



สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ
พระราชวังซองส์ ซูซี (SANS SOUCI)
ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศส ในความหมายว่า “ไร้กังวลหรือไกลกังวล” ซึ่งมีความงดงามไม่แพ้พระราชวัง แวร์ซายส์ เป็น​ที่ประทับฤดูร้อนของ​พระมหากษัตริย์ (ไร้กังวลหรือไกลกังวล) นี้​ได้กลาย​เป็นมรดกโลก ภายใต้การคุ้มครอง ขององค์การยูเนสโก้ในปี ค.ศ. ๑๙๙๐ ​และมีหน่วยงานด้านการดูแลพิพิธภัณฑ์คอยบำรุงรักษา ปัจจุบันนี้มีคน เข้าเยี่ยมชมมากกว่าปีละ ๒ ล้านคนจากทั่วโลก คฤหาสน์ไกลกังวลนี้​เป็น​พระราชวังฤดูร้อน ของ​พระเจ้า เฟรเดอริคมหาราชแห่งปรัสเซียค่ะ​หาก​จะเปรียบเทียบก็ประมาณว่า ​เป็นคู่แข่ง​กับ​พระราชวังแวร์คซายส์ เห็น​จะ​ได้ ​แต่คฤหาสน์ไกลกังวลนี้ขนาด​จะเล็กกว่ามาก ผู้ออกแบบ​คือ Georg Wenzeslaus von Knobelsdorff ตาม​พระบัญชาของเฟรเดริคมหาราช​ที่ทรงประสงค์​จะมี​ที่พักผ่อนอันสงบจากงานพิธีในกรุงเบอร์ลิน ​พระราชวังหลังนี้ใหญ่กว่าวิลล่าขนาดใหญ่สองชั้นไม่มากนัก ​และมีห้องหลัก ๆ​ แค่ ๑๐ ห้อง ​แต่ปลูกสร้างบนเนิน​ที่ทำ​เป็นเทอร์เรซไล่เลียงลงเนิน​ไปตามลำดับ




มหาวิหารโคโลญจน์ (Cologne Cathedral หรือ Kolner Dom) สร้างสำเร็จพร้อมกับมีพีธีวางหลักหินบันทึกข้อมูลการก่อสร้าง (foundation stone) โดยเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 1791แต่มีปัญหาให้ต้องหยุดพักการก่อสร้างไปบ้าง จึงต้องใช้เวลากว่าหกร้อยปีจึงสร้างเสร็จสมบูรณ์ มหาวิหารโคโลญจน์เป็นศาสนสถานของคริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก นับเป็นวิหารที่ใหญ่และสูงที่สุดในโลกในสมัยนั้น (แม้ปัจจุบันก็ยังติดอันดับ ของโลกลักษณะสถาปัตยกรรมแบบโกธิก(Gothic) เป็นหอคอยแฝดสูง 157เมตร กว้าง 86 เมตร ยาว 144 เมตร สร้างเพื่ออุทิศให้ นักบุญปีเตอร์(Saint Peter) และ พระแม่มารี (Blessed Virgin Mary) ปัจจุบันมหาวิหารโคโลญจน์นับจุดหมายสำคัญของเมืองโคโลญจน์และประเทศเยอรมนี และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกในปี 1996


สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ
จัตุรัสโรเมอร์ 
ที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดเมืองแฟรงค์เฟิร์ต ความสำคัญของที่แห่งนี้มี เดอะไคเซอร์ซาล หรือห้องจักรพรรดิที่มีการฉลองพิธีการสวมมงกุฎอันยิ่งใหญ่ ตรงกลางจัตุรัสเป็น น้ำพุแห่งความยุติธรรมด้านหน้าเป็นบ้านโครงไม้สมัยกลางที่ได้รับการบูรณะแล้ว











ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.qetour.com/travel-guide/germany-travel-guide.php

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย


วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้

1. ด้านการทหาร เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้ มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก เช่น ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก

2. ด้ารการศึกษา ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง เช่น พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
     ในสมัยรัชการลที่ 5 มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่ ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่ ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น โรงเรียนแพทย์ โรงเรียนกฎหมาย ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. ด้านวิทยาการ เช่น ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งโรงพยาบาล โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน
     ด้านการพิมพ์ เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387 ชื่อ "บางกอกรีคอร์เดอร์" การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น ในด้านการสื่อสารคมนาคม เช่น การสร้างถนน สะพาน โทรทัศน์ โทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป รถยนต์ รถไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก

4. ด้านแนวคิดแบบตะวันตก การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง เช่น ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นอกจากนี้ วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย เช่น การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย เช่น งานเขียนของดอกไม้สด ศรีบูรพา


5. ด้านวิถีการดำเนินชีวิต การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป เช่น การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก การปลูกสร้างพระราชวัง อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก เช่น ฟุตบอล กอล์ฟ เข้ามาเผยแพร่ เป็นต้น

(น้ำทิพย์   ทองเพ็ง)