วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ศิลปวัฒนธรรมตะวันตก


วันนี้ขอแนะนำศิลปตะวันตกยุคหลัง

ลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์ถึงหลังสงครามโลกครั้งที่1

1.ศิลปะลัทธิโฟวิสม์ (Fauvism) 

          Fauvism มาจากคำว่า Les Fauves เป็นภาษาฝรั่งเศส มีความหมายว่า “สัตว์ป่า” เป็นลัทธิทางศิลปะที่มีจุดเริ่มต้นในประเทศฝรั่งเศส โดยมี Henri Matisse เป็นหัวหน้าลัทธิ ผลงานของลัทธินี้โดดเด่นที่การใช้สีสด รุนแรง ในการสื่อความหมายทางอารมณ์ มีทั้งการใช้คู่สีตรงข้ามมาอยู่ด้วยกัน หรือมีหลายสิบสีในภาพเดียวกัน สร้างความรู้สึกตื่นเต้นแปลกใหม่ให้แก่ผู้ที่ได้ชม
1. ผลงานมีรูปทรงอิสระ สร้างขึ้นตามสัญชาติญาณ แห่งการแสดงออกอย่างเต็มที่ งานจะ ปรากฏความสนุกสนาน ในลีลาของรอยแปรงและจังหวะของสีต่าง ๆ
2. มีการตัดเส้นรอบนอกของสิ่งต่าง ๆ เพื่อเน้น ให้เด่นชัดมีรูปแบบง่าย ๆ เรียบ ๆ ต้องการ แสดงทั้งรูปทรง และแสงเงาไปพร้อมกัน
3. นิยมใช้สีตัดกันรุนแรง แต่มีความประสานสัมพันธ์กัน โดยส่วนรวม เช่น ใช้สีเขียว สีส้ม สีน้ำเงิน สีแดง และสีม่วง เป็นต้น
4. ให้ความสำคัญในเรื่องสี และการแสดงออกของอารมณ์มากกว่าความถูกต้อง เหมือนจริงในธรรมชาติ
5. ผลงานมีลักษณะเป็นแบบสัญลักษณ์ มากกว่า เรื่องเกียวกับศีลธรรมปรัชญา หรือความคิด ทางการเมือง และทางสังคม


ภาพวาด"Portrait of Madame Matisse" โดย มาทิสส์ (Henri Matiss)   



“Dance” จิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ โดย มาทิสส์ (Henri Matiss)

2.ศิลปะลัทธิเอ็กเพรสชั่นนิสม์ หรือ ลัทธิแสดงพลังอารมณ์ Expressionism

        ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่กลุ่มโฟวิสม์ อุบัติขึ้นที่ฝรั่งเศสและเยอรมัน ก็มีกลุ่มเอ็กซเพรสชั่นนิสม์เกิดขึ้นมาใหม่เหมือนกัน โดยศิลปินกลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลแนวคิด คตินิยมจาก ฟาน กอห์ก และ โกแกง โดยตรงนั่นคือการแสดงออกถึงอารมณ์ภายในอันเร้าร้อนรุนแรง การใช้สีและการตัดเส้นรอบนอก เพื่อให้รูปทรงเด่นชัดและแข็งกร้าว พวกเขาสะท้อนแนวคิดที่เกี่ยวกับสังคม การเมือง แสดงความสกปรก ความหลอกลวง ความเลวร้ายของสังคม ต่างจาก โฟวิสม์ ซึ่ง พวกเขาคิดว่า ศิลปกรรมของยุโรปโดยทั่วไปมีแนวโน้มการแสดงออกไปในด้านที่หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับความจริง ศิลปินต่างเสแสร้งและปิดบังโลกแห่งความเป็นจริง คำนึงถึงความงามแต่อย่างเดียว ทำให้มันดูสง่าเป็นของเข้าใจยาก ศิลปินทั้งสองกลุ่มไม่ได้ยึดแนวทางดั้งเดิม เรียกว่า พวกเขามีความคิดเป็นปฏิปักษ์ต่อ ความงามทางศิลปะก็ว่าได้ แล้วหันมาเสนองานที่กล้าเผชิญหน้าตรงๆระหว่างโลกและมนุษย์แต่การแสดงออกของทั้งสองกลุ่มก็มีแนวทางแตกต่างกัน โฟวิสม์ ใช้อารมณ์สร้างรูปแบบส่วนเอ็กซเพรสชั่นนิสม์ปล่อยให้รูปแบบแสดงอารมณ์ พวกเอ็กซเพรสชั่นนิสม์แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม
        กลุ่มแรก เรียกว่า กลุ่ม สะพาน (the Bridge)เป็นศิลปินวัยหนุ่ม ชอบแสดงศิลปะที่สะท้อนความสับสนของสังคม เมือง เศรษฐกิจ เพศ และศาสนา แสดงความสกปรกของสังคม ความเหลวแหลก ความหลอกลวงด้วยสีรุนแรงดังภาพของเอนเซอร์และภาพการเต้นรำชีวิตของมุงค์ แสดงภาพสะท้อนศาสนา ด้วยความรู้สึกโหดร้าย น่าเกลียด ขยะแขยง แสดงความรัก ความใคร่ ความตาย เพื่อเตือนให้สังคมตระหนักใน ความไม่แน่นอน แสดงภาพส่วนใหญ่หนักไปทางจิตวิทยาและสังคม 
        กลุ่มที่สอง ชื่อว่า กลุ่ม ม้าสีน้ำเงิน (the Blue Rider) แสดงความรู้สึกสนุกสนาน ร่าเริง ด้วยการใช้เส้นและลีลาของสี ศิลปินในกลุ่มนี้มีมาร์ค (1880-1916)และวาสสิลี่  แคนดินสกี้  (Wassily Kandinsky 1866-1944) แต่ที่น่าเสียดายที่มาร์คต้องตายเสียก่อน ในการรบที่เวอร์ตัน ส่วนแคนดินสกี้ แสดงผลงานต่อไป และเป็นริเริ่มแนวการเขียนแบบ แอ๊บสแตรก อาร์ท


“ชีวิตบนถนน” โดย Kirchner



“หอม้าสีน้ำเงิน” โดย Franz Marc

3.ศิลปะลัทธิคิวบิสม์ Cubism Art


          ศิลปะลัทธิคิวบิสม์ (Cubism Visual Art) เป็นลัทธิที่ปฏิรูปศิลปะให้แตกต่างจากสิ่งที่เคยมีมา จากคำพูดของเซซานที่ว่า ถ้าจะเข้าใจรูปทรงภายนอก จงมองรูปทรงเหล่านั้นเป็นเหลี่ยมเป็นลูกบาศก์ง่าย ๆ คำกล่าวและการกระทำของเซซาน จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดสร้างสรรค์งานเกี่ยวกับรูปทรงใหม่ในกลุ่มนี้ ผู้ที่ริเริ่มนำแนวความคิดนี้มาใช้ในงานจิตรกรรมอย่างจริงจัง คือ ปิคัสโซ (Picasso) และบร๊าค (Braque)

           สุนทรีภาพและรูปแบบงานจิตรกรรมลัทธิคิวบิสม์ ได้แก่
                   1. ส่วนใหญ่เป็นรูปทรงเรขาคณิต
                   2. เป็นภาพที่เกิดจากการตัดทอน
                   3. รูปทรงส่วนใหญ่เป็นแบบเรขาคณิต เป็นลูกบาศก์ จึงเป็นชื่อของคิวบิสม์
                   4. แสดงเรื่องราวของชีวิตยุ่งเหยิงด้วย รูปทรง สี และรูปร่าง
                   5. แสดงมิติ ด้วยรูปทรง ขนาด การซ้อนกัน บังกัน โปร่งใส คล้ายภาพเอกซเรย์
                   6. รูปแบบกึ่งนามธรรม คือ มีตัวตนและไม่มีตัวตนให้ชัดเจน
           สาเหตุการสร้างงานศิลปะลัทธิคิวบิสม์ คือ
                   1. ตอบสนองด้านจิตใจและอารมณ์  ของผู้สร้างและผู้ชมโดยเปิดโอกาสให้ผู้ชมคิดอย่างเสรีภาพและใช้ปัณณาพินิจพิจารณาด้วยตนเอง
                   2. เชื่อในสิ่งที่เห็นทุกอย่างของรูปทรงสามารถมองได้หลายๆด้านเป็นเหลี่ยมปริมาตร
           ศิลปินกลุ่มคิวบิสม์มีอยู่มากมาย แต่จะกล่าวเพียง คน เพราะมีผลงานเป็นเครื่องยืนยันมากว่าผู้อื่น
                   1. ปิคัสโซ (Picasso) ค.ศ. 1881 – 1973 เป็นผู้นำกลุ่มชาวสเปนที่ได้แนวทางจากกลุ่มโพสต์อิมเพรสชั่นนิสม์ จึงได้นำมาปรับปรุงตัดทอนจนได้แนวความคิดที่ว่า จงมองสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นเหลี่ยมหรือลูกบาศก์
                   2. บร๊าค (Braque) จิตรกรชาวฝรั่งเศส รู้จักปิคัสโซ ปี ค.ศ. 1908 และเริ่มต้นศิลปะในแนวทางเดียวกันกับปิคัสโซ
           สาเหตุการสร้างงานศิลปะลัทธิคิวบิสม์ คือ
                   1. ตอบสนองด้านจิตใจและอารมณ์  ของผู้สร้างและผู้ชมโดยเปิดโอกาสให้ผู้ชมคิดอย่างเสรีภาพและใช้ปัณณาพินิจพิจารณาด้วยตนเอง
                   2. เชื่อในสิ่งที่เห็นทุกอย่างของรูปทรงสามารถมองได้หลายๆด้านเป็นเหลี่ยมปริมาตร
           ศิลปินกลุ่มคิวบิสม์มีอยู่มากมาย แต่จะกล่าวเพียง คน เพราะมีผลงานเป็นเครื่องยืนยันมากว่าผู้อื่น
                   1. ปิคัสโซ (Picasso) ค.ศ. 1881 – 1973 เป็นผู้นำกลุ่มชาวสเปนที่ได้แนวทางจากกลุ่มโพสต์อิมเพรสชั่นนิสม์ จึงได้นำมาปรับปรุงตัดทอนจนได้แนวความคิดที่ว่า จงมองสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นเหลี่ยมหรือลูกบาศก์
                   2. บร๊าค (Braque) จิตรกรชาวฝรั่งเศส รู้จักปิคัสโซ ปี ค.ศ. 1908 และเริ่มต้นศิลปะในแนวทางเดียวกันกับปิคัสโซ
            ศิลปินกลุ่มคิวบิสม์มีอยู่มากมาย แต่จะกล่าวเพียง คน เพราะมีผลงานเป็นเครื่องยืนยันมากว่าผู้อื่น
                   1. ปิคัสโซ (Picasso) ค.ศ. 1881 – 1973 เป็นผู้นำกลุ่มชาวสเปนที่ได้แนวทางจากกลุ่มโพสต์อิมเพรสชั่นนิสม์ จึงได้นำมาปรับปรุงตัดทอนจนได้แนวความคิดที่ว่า จงมองสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นเหลี่ยมหรือลูกบาศก์
                    2. บร๊าค (Braque) จิตรกรชาวฝรั่งเศส รู้จักปิคัสโซ ปี ค.ศ. 1908 และเริ่มต้นศิลปะในแนวทางเดียวกันกับปิคัสโซ



"สุภาพสตรีแห่งเมืองอาวิญง" โดย ปีคัสโซ




“House at L’Estaque” 1908โดย จอร์จ บราค (Georges Braque)  


4.ศิลปะลัทธินามธรรม Abstractionism Art

     ศิลปะนามธรรม(Abstractionism Art) เป็นกลุ่มศิลปะหนึ่งในศตวรรษที่ 20 ตรงกับภาษาว่า นามธรรม เป็นศิลปะแบบใช้ความนึกคิด มีแต่องค์ประกอบของเส้น สี รูปร่าง พื้นผิว ส่วนรูปทรงถูกตัดทอนเหลือแกนแท้ของโครงสร้างเท่านั้น แบบอย่างที่นำมาของศิลปินกลุ่มนี้ ได้แก่ โครงสร้างของงาน เซซาน ที่ใช้สีสันเป็นอิสระและของแวนก๊อก ที่แสดงงรูปทรงอันบิดเบี้ยวในการให้เส้นพร้อมกับงานของโกแกง สุดท้ายเป็นการสังเคราะห์รูปทรงและสี ในงานกลุ่มคิวบิสม์ของปิกัสโซ ที่ลดสกัดตัดทอนรูปทรงจากสิ่งที่มองเห็น
         สุนทรียภาพและรูปแบบของงานจิตรกรรมและภาพพิมพ์ลัทธินามธรรมได้แก่
1. แสดงรูปร่างมากกว่ารูปทรง ส่วนใหญ่จะเป็นรูปร่างอิสระ เป็นรูปทรงไม่แน่นอนมองมรู้เรื่อง ไม่สามารถรับรู้ได้ว่าเป็นผลงานของชาติใดเป็นแบบสากล
2. คำนึงถึงเส้น และสีเฉย ๆ ไม่แสดงเรื่องราวแน่ชัด การถ่ายทอดทางการรับรู้
3. เรื่องราวใช้สี เส้น รูปร่าง แทนความรู้สึกของศิลปินเอง ไม่คำนึงถึงผู้ดู
4. ตัดทอนสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในรูปร่างหรือรูปทรงง่าย ๆ เหลือเพียงโครงสร้างแท้หรือโครงสร้างภายในและภายนอก
5. รูปที่นำมาแสดงไม่ใช่เรื่องราวที่แน่นอน เป็นเพียงสื่อให้ผู้ดูคิดเท่านั้น
6. รูปแบบนามธรรม คือ ไม่มีตัวตนให้เห็นว่าเป็นรูปทรงอะไร ประเภทใด   
           สุนทรียภาพและรูปแบบงานประตมากรรมลัทธินามธรรม ได้แก่
1. ใช้รูปทรงอิสระเป็นลักษณะสากลที่ไม่บ่งบอกว่าเป็นผลงานของชาติใด
2. ถ่ายทอดทางการรับรู้ เรื่องพื้นผิวของงานตามถนัดและความต้องการของศิลปิน
3. เรื่องราวรูปทรง คือ สื่อให้ผู้ดูคิดอย่างอิสระจะคิดอย่างไรก็ได้ตามเหตุผลที่จะคิดถูกหรือผิดไม่ใช่เครื่องชี้วัด
สาเหตุการสร้างงานศิลปะลัทธินามธรรม ได้แก่ 
      1. สนองด้านจิตใจ คือ ความงาม มากกว่าเรื่องราว
      2. แคนดินสกี้ (Kandinsky) ค.ศ. 1866 จิตรกรชาวรัสเซียผู้นำกลุ่มก่อนที่จะมาทำงานในแนว
          นี้เคย ทำงานตามแนวความเชื่อกลุ่มเอ็กซเพรสชั่นนิสม์มาก่อน
      3. ดีออง (Mondrian) ค.ศ 1872 จิตรกรชาวฮอลแลนด์ความเชื่อในความรู้สึกของผู้สร้างเป็น
          ใหญ่มากกว่าผู้ชมและส่งเสริมให้ผู้ชมรู้จักคิดเมื่อชมงานศิลปะ


            ศิลปินที่มีชื่อในลัทธินามธรรม ซึ่งเป็นรูปแบบที่เข้าสู่ยุคศิลปะสมัยใหม่อย่างแท้จริงมีดังนี้
                  1. ทำงานตามแนวความเชื่อกลุ่มเอ็กซเพรสชั่นนิสม์มาก่อน
                  2. วิลอง (Villon) ชาวฝรั่งเศสนิยมวาดรูปแบคิวบิสม์ผสมแอบสแตรก



 "แผนดีดำ" โดย แคนดินสกี้"



Broadway Boogie Woogie"  โดยพิเอ้ท มองเดรียน (Piet Mondrian)



5.ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์ Futurism Art

         ลัทธิฟิวเจอริสม์ (Futurism) เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในประเทศอิตาลี โดยศิลปินชาวอิตาเลียน  แนวคิดของศิลปะไม่เกี่ยวกับเรื่องสตรีเพศ ไม่สนใจภาพเปลือย  ความงามที่ถือว่าเป็นแนวทางการทํางานของลัทธินี้ คือ เรื่องของความเร็ว วิทยาศาสตร์ เทคนิควิชาการต่างๆ  ศิลปินลัทธิฟิวเจอร์ริสม์นี้ ไม่เห็นด้วยกับความคิดเฟ้อฝัน หรือการหยุดนิ่งอยู่กับที่ จะมีแรงบันดาลใจเกี่ยวกับความงามจากเครื่องไฟฟ้า รถยนต์ หรือเครื่องบิน นอกจากนี้ยังยึดหลัก 2 ประการ คือ ความเคลื่อนไหวของร่างกายในอวกาศ และความเคลื่อนไหวของวิญญานในร่างกาย  หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นศิลปะที่ยึดเอาทฤษฎี เกี่ยวกับพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง โดยได้แสดงออกมาด้วยวิธีเขียนภาพที่เต็มไปด้วยความเคลื่อนไหว ความอึกทึกครึกโครม ความสับสน อลหม่าน 
               ศิลปินที่สำคัญ เช่น  คาร์โล คาร์รา (Carlo Carra, ค.ศ. 1881-1966)  อุมแบร์โต บ็อคโชนี (Umberto Boccioni, ค.ศ. 1882-1916)  จิอาโคโม แบลลา (Giacomo Balla July 18, 1871 - March 1, 1958) เป็นต้น


" Horse and Rider or Red Rider"    
โดยคาร์โล คาร์รา (Carlo Carra) 



"Dynamism of a Dog on a Leash" 
ดย Giacomo Balla




อ้างอิงจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น